ขบถผู้มีบุญที่มณฑลอุดร


ขบถผู้มีบุญที่มณฑลอุดร
          ในระหว่างปลายปี .. ๒๔๔๔ จนถึงราวเดือนพฤษภาคม .. ๒๔๔๕ ได้มีเหตุการณ์สำคัญขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือมีขบถที่เกิดขึ้นเรียกว่า ขบถผู้มีบุญ หรือผีบุญ ในมณฑลอุดรและมณฑลอิสาน เนื่องจากมีผู้พบลายแทง ความว่า
          "ราวเดือน เพ็ญ ถึงเพ็ญเดือน จะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง เงินทองทั้งปวงจะกลายเป็นกรวดทรายไปหมด ก้อนกรวดในหินแลงจะกลับเป็นเงินทอง หมูจะกลายเป็นยักษ์ขึ้นกินคนแล้วท้าวชัยมิกราชผู้มีบุญ (คือ ผู้มีบุญ) จะมาเป็นใหญ่ในโลกนี้ ใครอยากจะพ้นภัยก็ให้คัดลอก หรือบอกความลายแทงให้รู้กันต่อ ไป ใครอยากจะมั่งมีก็ให้เก็บกรวดหินและรวบรวมไว้ให้ท้าวชัยมิกราชชุบเป็นเงินทอง ถ้ากลัวตายก็ให้ฆ่าหมูเสีย อย่าให้มันกลายเป็นยักษ์"
          จึงได้เกิดมีผู้มีบุญประมาณ ๑๐๐ คน ทั่วมณฑล มณฑลอุดรและมณฑลอีสานได้มีราษฎรพากันเข้ามาเป็นพวกเป็นจำนวนมาก บรรดาผู้มีบุญได้กำเริบเสิบสานถึงกลับพาพรรคพวกเข้าปล้นและเผาเมืองเขมรราฐ ในจังหวัดอุบลราชธานี และขยายความรุนแรงไปทั่วมณฑลอุดรและมณฑลอิสาน
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พันเอกพระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ (จัน อินทรกำแหง) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมาเป็นข้าหลวงพิเศษ ผู้ช่วยปราบปรามผีบุญทั้ง มณฑล โดยใช้ทหารบก พลตระเวน และทหารพื้นเมืองจากมณฑลนครราชสีมา, มณฑลอุดร,
มณฑลอีสาน และมณฑลบูรพา สามารถปราบปรามขบถผู้มีบุญได้สำเร็จในเวลารวดเร็ว
          ดังนั้น มณฑลอุดรจึงมีที่ตั้งอยู่ที่บ้านหมากแข้งเหมือนเมื่อครั้งเป็นมณฑลลาวพวน, มณฑลฝ่ายเหนือและมีสมุหเทศาภิบาล ปกครองสืบต่อมา คน
          พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพธิ์ เนติโพธิ์) ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดร ระหว่าง .. ๒๔๔๙ ๒๔๕๕ ในระยะเวลานี้มณฑลอุดรยังคงแบ่งการปกครองออกเป็น บริเวณ และมีผู้ปกครองดังนี้ คือ
          () บริเวณหมากแข้ง พระรังสรรคสรกิจ (เลื่อน) เป็นข้าหลวงบริเวณมีเมืองปกครองเพียงเมืองเดียว คือ เมืองอุดรธานี พระประทุมเทวาภิบาล (เสือ) เป็นผู้ว่าราชการเมือง พระอนุรักษ์ประชาราษฎร์ เป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง แบ่งออกเป็น อำเภอ คือ
          . อำเภอหมากแข้ง (ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองอุดรธานี)
          .อำเภอหนองค่าย (ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองหนองคาย)
          . อำเภอท่าบ่อ
. อำเภอหนองหาร
                  . อำเภอเมืองกมุทธาไสย (ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอหนองบัวลำภู)
. อำเภอโพนพิสัย
. อำเภอกุมภวาปี
. อำเภอรัตนวาปี
() บริเวณธาตุพนม พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) เป็นข้าหลวงบริเวณมี
เมืองปกครองเพียงเมืองเดียว คือ เมืองนครพนม พระยาพนมนครานุรักษ์ (กา พรหมประกาย นครพนม) เป็นผู้ว่าราชการเมือง มีอำเภอปกครอง ๑๑ อำเภอ คือ
          . อำเภอเมืองนครพนม
          . อำเภอมุกดาหาร
                       . อำเภอหนองสูง (ปัจจุบันคือ ตำบลหนองสูงและตำบลหนองสูงใต้ ขึ้นกับอำเภอคำชะอี)
                  . อำเภอเมืองชัยบุรี (ปัจจุบันยุบขึ้นเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอท่าอุเทน)
      . อำเภอเมืองท่าอุเทน (ต่อมาเปลี่ยนเป็น อำเภอท่าอุเทน)
          . อำเภอเมืองเรณูนคร
          . อำเภออาจสามารถ
          . อำเภอเมืองอากาศอำนวย
          . อำเภอเมืองกุสุมาลย์มณฑล
๑๐. อำเภอเมืองโพธิไพศาล (ปัจจุบันเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนคร)
          ๑๑. อำเภอรามราช (ปัจจุบันเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอท่าอุเทน)
          () บริเวณสกลนคร หลวงวิสัยสิทธิกรรม (จีน) เป็นข้าหลวงบริเวณ มีพระยาประจันต-
ประเทศธานี (โหง่นคำ ต้นสกุล พรหมสาขา สกลนคร) เป็นผู้ว่าราชการเมือง พระอนุบาลสกลเขต (เมฆ พรหมสาขา สกลนคร น้องชาย พระยาประจันตประเทศธานี) เป็นปลัดเมือง ได้แบ่งอำเภอปกครองออกเป็น อำเภอ คือ
          . อำเภอเมืองสกลนคร
          . อำเภอพรรณานิคม
          . อำเภอวาริชภูมิ
                       . อำเภอวานรนิวาส
. อำเภอจำปาชนบท (ปัจจุบัน คือ อำเภอพังโคน)
          () บริเวณพาชี (หรือภาชี) ขุนผดุงแคว้นประจันต์ (ช่วง) เป็นข้าหลวงบริเวณ มีเมืองปกครองเพียงเมืองเดียว คือ เมืองขอนแก่น ผู้ว่าราชการเมืองเวลานั้นว่าง มีอำเภอในสังกัด อำเภอ คือ
. อำเภอเมืองขอนแก่น
. อำเภอเมืองมัญจาคีรี

. อำเภอชนบท

. อำเภอภูเวียง

          () บริเวณน้ำเหือง พระรามฤทธี (สอน ต้นสกุล วิวัฒน์ปทุม) เป็นข้าหลวงบริเวณพระศรีสงคราม (มณี เหมาภา) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ตั้งที่ทำการบริเวณ เมืองเลย มีอำเภอปกครอง อำเภอ
. อำเภอเมืองเลย
. อำเภอท่าลี่
. อำเภออาฮี (ปัจจุบันยุบเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอท่าลี่)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น