สมัยกรุงรัตนโกสินทร์



ยุทธภูมิ ไทย - ลาว ที่หนองบัวลำภู
          เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อ .. ๒๓๒๕ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญมาโดยตลอด ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวนั้นยังไม่ได้มีการจัดตั้งเมืองอุดรธานี ดังนั้นจึงยังไม่มีชื่อเมืองอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์และพงศาวดารในเวลานั้น แต่ได้มีการกล่าวถึงเมืองหนองบัวลำภูในสมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในระหว่าง .. ๒๓๖๙ - ๒๓๗๑ ได้เกิดกบฏเจ้านุวงศ์ขึ้นและได้มีข้อความเกี่ยวข้องกับเมืองหนองบัวลำภูอยู่ตอนหนึ่ง ตามสำเนาลายพระหัตถเลขาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม .. ๒๔๗๘ ในสาส์นสมเด็จ เล่ม ความว่า
          "ในสมัยรัชกาลที่ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฏยกกองทัพมายึดเมืองนครราชสีมา ครั้นรู้ว่าที่ในกรุงฯ เตรียมกองทัพใหญ่จะขึ้นไป จึงถอยหนีกลับไปตั้งรับที่
หนองบัวลำภู ได้รบกับกองทัพไทยเป็นสามารถเมื่อหม่อมฉันไปได้รับคำชี้แจงที่เมืองอุดรว่า หนองบัวลำภูนั้นคือ เมืองกุมุทาสัย ซึ่งยกขึ้นเป็นเมืองเมื่อในรัชกาลที่ หม่อมฉันกลับลงมากรุงเทพฯ ได้มีท้องตราซึ่งให้เปลี่ยนชื่อเมือง กุมุทาสัย ซึ่งลดลงเป็นอำเภออยู่ในเวลานั้น กลับเรียกชื่อเดิมว่า "อำเภอหนองบัวลำภู" ดูเหมือนจะยังใช้อยู่จนบัดนี้"

การปราบปรามฮ่อในมณฑลลาวพวน
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะเวลานั้น นับเป็นเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ประเทศไทย (ในขณะนั้นเรียกว่าประเทศสยามได้มีการติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางตะวันตกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้วัฒนธรรม อารยธรรม ความเจริญต่าง ได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย ประกอบกับในระยะเวลานั้นเป็นระยะเวลาของการแสวงหาเมืองขึ้น ตามลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกของชาติตะวันตกที่สำคัญสองชาติ คือ อังกฤษ กับฝรั่งเศส ที่พยายามจะผนวกดินแดนบริเวณแหลมอินโดจีนให้เป็นเมืองขึ้นของตน และพยายามที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากเมืองไทยในระหว่าง .. ๒๓๙๑ - ๒๓๙๕ พวกจีนที่เป็นกบฏที่เรียกว่า กบฏไต้เผง ถูกจีนตีจากผืนแผ่นดินใหญ่ได้มาอาศัยอยู่ตามชายแดนไทย ลาว และญวน ซึ่งเวลานั้นดินแดนลาวที่เรียกว่าลานช้าง บริเวณเขตสิบสองจุไทยหัวพันทั้งห้าทั้งหกนั้นขึ้นอยู่กับประเทศไทย พวกฮ่อได้เที่ยวปล้นสดมภ์ ก่อความไม่สงบและได้กำเริบเสิบสานมากขึ้น จนกระทั่ง .. ๒๔๑๑ ได้เข้ายึดเมืองลาวกาย เมืองพวน เมืองเชียงขวาง และยกมาตีเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และหนองคายต่อไป
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เสด็จขึ้น
 
ครองราชย์ เมื่อ .. ๒๔๑๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุโขทัยกับพระยาพิชัยยกกองทัพไปช่วยหลวงพระบาง และให้พระยามหาอำมาตย์ยกทัพไปช่วยทางด้านหนองคาย แล้วรับสั่งให้เจ้าพระยาภูธราภัยยกกองทัพไปช่วย พระยามหาอำมาตย์อีกกองทัพหนึ่ง กองทัพไทยสามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป แต่กระนั้นก็ตามพวกฮ่อที่แตกพ่ายไปแล้วนั้นก็ยังทำการปล้นสดมภ์รบกวนชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งใน .. ๒๔๒๘ พวกฮ่อได้ส้องสุมกำลังมากขึ้น จนสามารถยึดเมืองซอนลา เมืองเชียงขวาง และทุ่งเชียงคำไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปปราบปรามทางด้านเมืองหนองคาย เรียกว่าแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (ต่อมาเป็นจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหลือทางเมืองหลวงพระบาง เมื่อวันที่  ๑๒  ๑๒ ค่ำ ปีระกา สัปตศก๑๘(ตรงกับวันที่ พฤศจิกายน .. ๒๔๒๘) และได้ทรงมีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่แม่ทัพใหญ่ทั้งสอง ดังความตอนหนึ่งว่า
          "ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพขึ้นไปเพื่อจะปราบปรามพวกฮ่อในเมืองพวน เมืองหัวพันทั้งหกครั้ง ด้วยทรงพระมหากรุณาแก่อาณาประชาราษฎรอันอยู่ในพระราชอาณาเขตร์ซึ่งพวกฮ่อมาย่ำยีตีปล้นเกบทรัพสมบัตร เสบียงอาหาร จุดเผาบ้านเรือน  คุ่มตัวไปใช้สอยเปนทาษเปนเชลย ได้ความลำบากต่าง ไม่เปนอันที่จะทำมาหากิน จึงได้คิดจะปราบปรามพวกฮ่อเสียให้ราบคาบ เพื่อจะให้ราษฎรทั้งปวงได้อยู่เยนเปนศุข เพราะเหตุฉนั้นให้แม่ทัพนายกองทั้งปวงกำชับห้ามปรามไพร่พลในกองทัพอย่าให้เที่ยวข่มขี่ราษฎรทั้งปวง แย่งชิง เสบียงอาหารต่าง เหมือนอย่าง เช่น คำเล่าฤาที่คนปรกติมักจะเข้าใจว่าเปนธรรมเนียมกองทัพแล้ว จะแย่งชิงฤาคุมเหง คเนงร้ายผู้ใดแล้วไม่มีโทษ ให้การซึ่งทรงพระมหากรุณาแก่ราษฏรจะให้อยู่เยนเปนศุขนั้นกลับเปนความเดือดร้อนไปได้เปนอันขาด"
          กองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือต้องประสบความลำบากในการทำสงครามกับพวกฮ่อ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา ซึ่งมีไข้ป่าชุกชุมทำให้ทหารฝ่ายไทยต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ในที่สุดกองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือก็สามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป
          หลังจากเหตุการณ์ปราบฮ่อได้สงบลงแล้ว ฝรั่งเศสซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนมหาอำนาจตะวันตกในเวลานั้นได้ขยายดินแดนเข้ามาในแหลมอินโดจีนเพื่อขยายอาณานิคมของตน และสามารถผนวกกัมพูชาได้ใน .. ๒๔๑๐ ต่อมาได้ญวนทั้งประเทศเป็นอาณานิคมเมื่อ .. ๒๔๒๖ จากนั้นได้พยายามเข้าครอบครองลาว โดยอ้างสิทธิของญวนว่า  ลาวเคยตกเป็นเมืองขึ้นของญวน ดังนั้นเมื่อฝรั่งเศสได้ญวนเป็นอาณานิคมแล้ว ลาวจะต้องเป็นเมืองขึ้นของญวนด้วย จึงได้ดำเนินการทุกวิถีทางที่จะได้ลาวเป็นเมืองขึ้น และยังต้องการให้ไทยเป็นเมืองขึ้นด้วย จากการขยายดินแดนของฝรั่งเศสในครั้งนี้ ทำให้กระทบกระเทือนต่อพระราชอาณาเขตของไทยเป็นอย่างยิ่ง
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า นโยบายหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมกับชาติตะวันตกไม่สามารถที่จะทำให้ประเทศปลอดภัยได้ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงการปกครองของไทยที่ยังล้าสมัยอยู่ในเวลานั้น ด้วยการควบคุมดินแดนชายพระราชอาณาเขตให้มากกว่านี้เพราะถ้าหากไม่มีการควบคุมดังกล่าว อาจทำให้ฝรั่งเศสใช้เป็นช่องทางที่จะเข้าครอบครองประเทศไทยได้ จึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสม

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล
          การปกครองหัวเมืองในสมัยก่อน .. ๒๔๓๕ นั้น เป็นระบบที่เรียกว่า "กินเมือง" มีหลักอยู่ว่า ผู้เป็นเจ้าเมืองต้องทิ้งกิจธุระของตนมาประจำทำการปกครองบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากภัยอันตราย ราษฎรก็ต้องตอบแทนคุณเจ้าเมืองด้วยออกแรงช่วยทำการงานให้บ้างหรือแบ่งสิ่งของซึ่งทำมาหาได้ เช่น ข้าวปลาอาหาร เป็นต้น อันมีเหลือใช้ให้เป็นของกำนัลช่วยอุปการะมิให้เจ้าเมืองต้องเป็นห่วงในการหาเลี้ยงชีพ ทั้งนี้เจ้าเมืองจะมีกรมการเมืองเป็นผู้ช่วย โดยเจ้าเมืองเหล่านั้นมักจะเป็นชาวเมืองนั้นเองและส่วนใหญ่ก็จะเป็นลูกหลานของเจ้าเมืองคนเก่า ปกครองราษฎรกันเองโดยทางส่วนกลาง คือ กรุงเทพจะควบคุมดูแลในกิจการใหญ่ เช่น การส่งภาษีที่เก็บได้ในเมืองไปยังส่วนกลาง หรือส่งส่วย เป็นต้น ส่วนหัวเมืองประเทศราชนั้นเจ้าเมืองปกครองกันเองจะส่งเฉพาะดอกไม้เงินดอกไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการเท่านั้น เพราะในสมัยนั้นข้าราชการที่กรุงเทพไม่ค่อยมีผู้สมัครไปทำงานหัวเมือง การควบคุมดูแลจึงมีลักษณะไม่เด็ดขาดเจ้าเมืองในแต่ละเมืองจึงมีอำนาจสิทธิขาดมากหากเจ้าเมืองใดเป็นคนดีมีคุณธรรมบ้านเมืองก็สงบเรียบร้อย ในทางกลับกันหากบ้านเมืองใดเจ้าเมืองเป็นคนทุจริตบ้านเมืองก็ไม่สงบมีความเดือดร้อนทั่วไป
          ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าหัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ มากเท่าใดก็ยิ่งมีอิสรภาพในการปกครองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งในสมัยนั้น  หัวเมืองที่รัฐบาลบังคับบัญชาโดยตรงมีแต่หัวเมืองจัตวา ใกล้ ราชธานี ส่วนหัวเมืองอื่น ซึ่งแบ่งไว้เป็นชั้น เอก โท ตรี ตามสำคัญของเมืองจะมีอิสระมาก
          ดังนั้น เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงได้เริ่มปฏิรูปการปกครองหัวเมืองโดยยึดหลักที่ว่า อำนาจของการปกครองควรจะเข้ามาอยู่จุดเดียวกันหมด ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลกลางจะไม่ให้การบังคับบัญชาหัวเมืองกระจายไปอยู่กับกระทรวงสามกระทรวง และจะไม่ยอมให้เจ้าเมืองต่าง มีอิสระอย่างที่มีมาในอดีต ระบบการปกครองแบบใหม่นี้เรียกว่า "เทศาภิบาล" หรือ "มณฑลเทศาภิบาล" ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครอง ปรากฏตามคำจำกัดความของการเทศาภิบาล ซึ่งพระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความหมายดังนี้
          "การเทศาภิบาล คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วย ตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลางซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินการในส่วนภูมิภาค อันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากรเพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข และความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่พระราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองแว่นแคว้นออกโดยลำดับขั้นเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดจัดเป็นแผนกพนักงานทำนองการของกระทรวงในราชธานี อันเป็นวิธีนำมาซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยรวดเร็วและโดยเฉพาะอย่างยิ่งระงับทุกข์ บำรุงสุขด้วยความเที่ยงธรรมแก่อาณาประชาชน"
          ดังนั้น "เทศาภิบาล" หรือ "มณฑลเทศาภิบาล" จึงประกอบด้วย
          . มณฑล   รวมหลายเมืองเป็นหนึ่งมณฑล
          . เมือง    รวมหลายอำเภอเป็นหนึ่งเมือง
          . อำเภอ   แต่ละอำเภอ แบ่งท้องที่เป็นตำบลและหมู่บ้าน
          ส่วนการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางนั้น ได้ยกเลิกตำแหน่งสมุหนายก,
สมุหกลาโหม, จตุสดมภ์ โดยทรงโปรดให้ตั้งเสนาบดีว่าการกระทรวงแทน

การจัดตั้งมณฑลก่อนการปฏิรูปใน .. ๒๔๓๕
          ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบการจัดการปกครอง ในพระพุทธศักราช ๒๔๓๕ เหตุการณ์ระหว่างประเทศตามชายแดนของประเทศมีทีท่าว่าจะทวีความรุนแรงคับขันขึ้นจนไม่อาจปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเฉย โดยไม่จัดการรักษาและระวังพระราชอาณาจักรของไทยไว้เสียก่อน สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญขึ้นเป็นเขตปกครองเรียกว่า มณฑล โดยมุ่งที่จะป้องกันพระราชอาณาจักร ให้พ้นจากการคุกคามจากภายนอกเป็นหลัก และในขณะเดียวกันก็เป็นการทดลองการจัดระเบียบการปกครองอย่างใหม่ ซึ่งพระองค์ทรงสนพระทัยที่จะจัดให้มีขึ้นในประเทศต่อไปด้วย
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเลือกสรรบุคคลที่ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถสูง และเป็นที่วางพระราชหฤทัยให้ออกไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ บัญชาการต่างพระเนตรพระกรรณ กำกับราชการซึ่งผู้ว่าราชการเมืองและกรมการบังคับบัญชาและปฏิบัติอยู่ทุกฝ่าย ให้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยความสุจริต ยุติธรรม และรวดเร็ว และพร้อมทั้งอำนวยความสงบสุขสวัสดิภาพ และป้องกันทุกข์ภัยของประชาชนให้ได้รับความร่มเย็นตามควรแก่วิสัยที่จะพึงเป็นไปได้
          รายชื่อ มณฑล พร้อมทั้งพระนามและนามของข้าหลวงใหญ่ มีดังต่อไปนี้คือ
(1)                     มณฑลลาวเฉียง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ มีเจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรี-
ไชยันต์) ว่าที่สมุหกลาโหม เป็นข้าหลวงใหญ่ ประกอบด้วย เมือง คือ นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน แพร่ เถิน ตั้งที่บัญชาการมณฑล (ศาลารัฐบาล) ที่นครเชียงใหม่
          () มณฑลลาวพวน (เดิมเรียกหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอุดรมีพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสนาบดี กระทรวงวัง เป็นข้าหลวงต่างพระองค์
บัญชากรอยู่ที่เมืองหนองคาย มณฑลนี้ก่อน .. ๒๔๓๖ (.. ๑๑๒) ได้รวมหัวเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงหลายเมือง




ความรู้เรื่องมณฑลลาวพวน
          มณฑลลาวพวน (เดิมเรียกหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ) พวนเป็นชื่อแคว้นอยู่บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีเมืองใหญ่ของแคว้นคือ เมืองพวน และเมืองเชียงขวาง เมืองพวนอยู่ทิศอิสานของเวียงจันทน์ และทิศอาคเนย์ของหลวงพระบาง เดิมเป็นของไทย ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ก่อน .. ๑๑๒
(.. ๒๔๓๖) มณฑลลาวพวนประกอบด้วย หัวเมืองเอก ๑๖ เมือง ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ส่วนหัวเมืองโท ตรี จัตวา ๓๖ เมือง รวมขึ้นอยู่ในหัวเมืองเอก ดังต่อไปนี้

ลำดับที่
เมืองเอก
เมืองโท ตรี จัตวา
(ขึ้นกับเมืองเอก)
หมายเหตุ

.

.
.
.
.
.

.
.
.
๑๐.
๑๑.
๑๒.
๑๓.
๑๔.
๑๕.
๑๖.
หนองคาย

เชียงขวาง
บริคัณฑนิคม
นครพนม
คำม่วน
สกลนคร

มุกดาหาร
บุรีรัมย์
ขอนแก่น
หล่มศักดิ์
โพนพิสัย
ชัยบุรี
ท่าอุเทน
กมุทาสัย
หนองหารใหญ่
คำเกิด
เวียงจันทน์ เชียงคาน พานพร้าว ธุรคมหงส์สถิตย์
กุมภวาปี รัตนวาปี
แสน พาน งัน ซุย จิม
ประชุม
วัง เรณูนคร รามราช อาจสามารถ อากาศอำนวย
มหาชัยกองแก้ว ชุมพร วังมน ทาง
กุสุมาลมณฑล พรรณานิคม วาริชภูมิ สว่างดินแดน  วานรนิวาส ไพธิไพศาล จำปาชนบท
พาลุกากรภูมิ หนองสูง
นางรอง
พล ภูเวียง มัญจาคีรี คำทองน้อย
เลย
-
-
-
-
-
-

รวม เมือง
รวม เมือง
หนึ่งเมือง
รวม เมือง
รวม เมือง

รวม เมือง
รวม เมือง
หนึ่งเมือง
รวม เมือง
หนึ่งเมือง



          รวมเมืองเอก ๑๖ เมือง และเมืองโท ตรี จัตวา ที่ขึ้นกับเมืองเอก จำนวน ๓๖ เมือง เมืองเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ส่งข้าราชการไปเป็นข้าหลวงรักษาพระราชอาณาเขตอยู่หลายเมือง
          ครั้นถึง ตุลาคม .. ๒๔๓๖ (.. ๑๑๒) ดินแดนดังกล่าวนั้นตกไปเป็นของฝรั่งเศส เมืองในมณฑลนี้จึงเหลืออยู่เพียง เมือง คือ อุดรธานี ขอนแก่น นครพนม สกลนคร เลย และหนองคาย ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่หนองคาย ต่อมาย้ายมาตั้งที่บ้านหมากแข้ง คือ จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน
() มณฑลลาวกาว ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอิสาน มีพระวรวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร บัญชาการอยู่ที่นครจัมปาศักดิ์ มี เมือง คือ อุบลราชธานี นครจำปาศักดิ์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองอุบลราชธานี
() มณฑลเขมร  ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลบูรพา มีพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น
ศรีเพ็ญ เป็นข้าหลวงใหญ่ มี เมือง คือ พระตะบอง เสียมราษฎร์ ศรีโสภณ และพนมศก ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองพระตะบอง
          () มณฑลลาวกลาง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลนครราชสีมา มีพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ มี เมือง คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองนครราชสีมา
          () มณฑลภูเก็ต เดิมเรียกว่า หัวเมืองฝ่ายตะวันตก มีพระยาทิพโกษา (โต โชติกเสถียร) เป็นข้าหลวงใหญ่ มีอยู่ เมือง คือ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ตะกั่วป่า พังงา และระนอง ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองภูเก็ต
          มณฑลทั้ง นี้เป็นเพียงการรวมเขตหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลและมีข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลเท่านั้นยังไม่ได้ดำเนินการ เป็นลักษณะมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาลเมื่อ .. ๒๔๓๗ จึงได้ทรงแก้ไขการปกครองมณฑลทั้ง นี้เป็นลักษณะเทศาภิบาล ด้วย

กรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างไทย - ฝรั่งเศส
          ใน .. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     มีพระราชประสงค์ที่จะรักษาพระราชไมตรีให้มั่นคงถาวรกับชาติตะวันตก  อันได้แก่   ฝรั่งเศส     และอังกฤษ   เนื่องจากในระยะนั้นฝรั่งเศสได้ประเทศเขมรและประเทศญวน ตลอดจนแคว้นตังเกี๋ยเป็นเมืองขึ้น และอังกฤษก็ได้ประเทศพม่าเป็นเมืองขึ้นมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย จึงมีปัญหาเรื่องการแบ่งปันเขตแดนเพื่อที่จะให้เป็นที่ตกลงกันแน่นอน
          ดังนั้น    เพื่อที่จะรักษาพระราชไมตรีและปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้อยู่เย็นเป็นสุข
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงคัดเลือกและแต่งตั้งบุคคลผู้มีความสามารถที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้ ส่งออกไปปฏิบัติราชการประจำต่างหัวเมือง และยิ่งเป็นหัวเมืองหน้าด่าน ซึ่งข้าศึกศัตรูอาจล่วงล้ำเข้ารุกรานได้ง่าย ก็ต้องยิ่งเลือกบุคคลที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้แน่นอน โดยเฉพาะในภาคอีสาน ดังนั้นใน .. ๒๔๓๔ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงใหญ่พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ออกไปตั้งรักษาอยู่ เมืองจำปาศักดิ์กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงเมืองลาวกาว (แต่ประทับอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี)
          ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่พร้อมด้วยข้าราชการทหาร พลเรือน ตั้งอยู่ เมืองหนองคายกองหนึ่ง ให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพวน
          ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่พร้อมด้วยข้าราชการทหาร ตั้งอยู่ เมืองหลวงพระบางกองหนึ่ง ให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพุงดำ (แต่กองนี้ภายหลังเปลี่ยนมาประจำเมืองนครราชสีมา หาได้ไปตั้งที่เมืองหลวงพระบางไม่)
          โดยเฉพาะหัวเมืองลาวพวนในเวลานั้น (.. ๒๔๓๔) ที่ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงหัวเมืองลาวพวนนั้น ประกอบด้วยเมืองต่าง คือ เมืองหนองคาย เมืองเชียงขวาง เมืองบริคัณฑนิคม เมืองโพนพิไสย เมืองนครพนม เมืองท่าอุเทน เมืองไชยบุรี เมืองสกลนคร เมืองมุกดาหาร เมืองขอนแก่น เมืองหล่มศักดิ์ เมืองใหญ่ ๑๓ เมือง เมืองขึ้น ๓๖ เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงหัวเมืองลาวพวน
          ในเวลานั้นฝรั่งเศสได้ญวนและเขมรเป็นอาณานิคมแล้วก็ได้พยายามที่จะขยายดินแดนอาณานิคมมายึดครองลานช้าง (ลาว) ซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทยโดยได้อาศัยที่เกิดเหตุความวุ่นวายของพวกฮ่อ ค่อย ขยายอิทธิพลเข้ามาทีละน้อย คือ หลังจากที่ไทยได้ปราบปรามฮ่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วฝรั่งเศสได้ถือโอกาสเข้ายึดแคว้นสิบสองจุไทย โดยอ้างว่าจะคอยปราบโจรจีนฮ่อ แม้ไทยจะเจรจาอย่างไร ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนออกไป แคว้นสิบสองจุไทยเราจึงกลายเป็นของฝรั่งเศส ตั้งแต่ .. ๒๔๓๑
          ฝรั่งเศสได้ถือสาเหตุกระทบกระทั่งกับไทยกรณีปัญหาชายแดน กล่าวคือ ฝรั่งเศสอ้างว่าลาวเคยเป็นของญวน เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวนแล้ว ลาวจะต้องตกเป็นของญวนด้วย ฝรั่งเศสได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออกเดินสำรวจพลเมือง และเขตแดนว่ามีอาณาเขตที่แน่นอนเพียงใด และเนื่องจากเขตแดนระหว่างไทยกับลาวมิได้กำหนดไว้อย่างแน่นอนและรัดกุม จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของไทยเข้าไปกับฝ่ายตนมากทุกที

วิกฤตการณ์สยาม .. ๑๑๒
          ในที่สุดชนวนที่ฝรั่งเศสถือเป็นสาเหตุข้อพิพาทในการเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ก็เกิดขึ้นเมื่อฝรั่งเศสได้ส่งทหารรุกเข้ามาทางด้านคำมวน เข้าปลดอาวุธพระยอดเมืองขวางกับทหารแล้วบังคับให้ควบคุมตัวมาส่งที่แม่น้ำโขง เมืองท่าอุเทนก่อนที่พระยอดเมืองขวางปลัดจะยอมถอยออกจากเมืองคำมวนนั้น พระยอดเมืองขวางได้ยื่นหนังสือเป็นการประท้วงต่อฝรั่งเศส มีข้อความดังนี้คือ
          "เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ (.. ๒๔๓๖) ข้าพเจ้าพระยอดเมืองขวางข้าหลวงซึ่งรักษาราชการเมืองคำเกิด คำมวน ทำคำมอบอายัติเขตแดนแผ่นดิน และผลประโยชน์ในเมืองคำเกิด คำมวน ไว้กับกงถือฝรั่งเศส ฉบับหนึ่งด้วย  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์
ศิลปาคมเสนาบดีว่าการกรมวังข้าหลวงใหญ่ซึ่งจัดราชการเมืองลาวพวน โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าขึ้นมารักษาราชการเมืองคำเกิด คำมวน ซึ่งเป็นพระราชอาณาเขตกรุงสยามติดต่อกับเขตแดนเมืองญวน ที่น้ำแบ่งด้านตาบัวข้าพเจ้าได้รักษาราชการแลท้าวเพี้ยไพร่ทาษาต่าง ให้อยู่เย็นเป็นสุขเรียบร้อยโดยยุติธรรมมาช้านานหลายปี ครั้นถึงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ท่านกับนายทหารฝรั่งเศสอีก คน คุมทหารประมาณ ๒๐๐ เศษ มาปล้นข้าพเจ้า แล้วเอาทหารเข้าล้อมจับผลักไส แทงด้วยอาวุธ ขับไล่กุมตัวข้าพเจ้ากับข้าหลวงขุนหมื่นทหารออกจากค่าย ข้าพเจ้าไม่ยอมให้ จะอยู่รักษาราชการผลประโยชน์ตามคำสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเจ้าของข้าพเจ้าต่อไป กงถือฝรั่งเศสหาให้อยู่ไม่ ฉุดฉากข้าพเจ้ากับขุนหมื่นทหาร ข้าพเจ้าขอมอบอายัติเขตแดนแผ่นดิน ท้าวเพี้ยไพร่แลผลประโยชน์ของฝ่ายกรุงสยาม ไว้กับกงถือฝรั่งเศส กว่าจะมีคำสั่งมาประการใด จึงจะจัดการต่อไปและให้กงถือฝรั่งเศสเอาหนังสือไปแจ้งกับคอนเวอนแมนฝรั่งเศสแลคอนเวอนแมนต์ฝ่ายสยาม ให้ชำระตัดสินคืนให้กับฝ่ายกรุงสยามตามทำเนียบแผนที่เขตแดนแผ่นดิน ซึ่งเป็นของกรุงสยามตามเยี่ยงอย่างธรรมเนียมที่ฝ่ายกรุงสยามถือว่าเป็นของฝ่ายกรุงสยามได้รักษามาแต่เดิม

                                 (เซ็นชื่อ) พระยอดเมืองขวางปลัด"
          พระยอดเมืองขวางกับคณะถูกโกสกือแรงนายทหารฝรั่งเศสคุมตัวมาถึงแก่งเกียด พระยอดเมืองขวางได้ทหารจากท่าอุเทนเข้าสู้กับฝรั่งเศส จนฝรั่งเศสตายเกือบหมด หนีรอดไปได้เพียง คน
          จากเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสได้กระทำในครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ประท้วงการกระทำต่อรัฐบาล
ฝรั่งเศสแต่ไม่ได้ผล ฝรั่งเศสกลับส่งกำลังคุกคามอาณาเขตไทยมากยิ่งขึ้น และกลับเป็นฝ่ายกล่าวหาว่าไทยเป็นผู้รุกราน
          ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม .. ๑๑๒ (.. ๒๔๓๖) ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบจำนวน ลำ เรือนำร่อง จำนวน ลำ เข้ามาในปากน้ำของไทย และได้เกิดยิงสู้กัน ป้อมพระจุลฯ ทำให้ทหารฝ่ายไทยตาย ๑๕ คน ฝรั่งเศสตาย คน บาดเจ็บ คน แต่ไม่อาจหยุดยั้งเรือรบฝรั่งเศสได้ และได้เข้ามาจอดที่กรุงเทพฯ บริเวณสถานทูตฝรั่งเศส
          จนกระทั่ง ในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม .. ๑๑๒ ฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดให้ไทยตอบรับภายใน ๒๔ ชั่วโมง เรื่องที่จะให้ไทยมอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เป็นดินแดนลาวให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อไม่ได้รับคำตอบ ทูตฝรั่งเศส (.ปาวี) จึงได้เดินทางออกจากประเทศไทย และประกาศปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม .. ๑๑๒
          ในที่สุดด้วยพระปรีชาญาณเล็งเห็นการณ์ไกลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อมิให้ต้องเสียดินแดนทั้งหมดพระราชอาณาเขตให้แก่ฝรั่งเศสดังที่ฝรั่งเศสเคยใช้วิธีการกับญวน และเขมรมาแล้ว พระองค์จึงได้ตกลงพระทัยยอมทำสัญญากับฝรั่งเศสด้วยความโทมนัส จนถึงกับทรงพระประชวร
          สำหรับสัญญาที่ทำกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ตุลาคม .. ๑๑๒ (.. ๒๔๓๖) นั้นมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเมืองอุดรธานี ดังต่อไปนี้คือ

หนังสือสัญญากรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศสแต่วันที่ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม และท่านประธานาธิบดีริบับลิก กรุงฝรั่งเศสมีความประสงค์เพื่อจะระงับกับความวิวาท ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่ล่วงไปแล้ว ในระหว่างประเทศทั้งสองนี้ และเพื่อจะผูกพันทางไมตรีอันได้มีมาหลายร้อยปีแล้ว ในระหว่างกรุงสยามและกรุงฝรั่งเศสนั้นให้สนิทยิ่งขึ้นจึงได้ตั้งอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มทั้งสองฝ่าย ให้ทำหนังสือสัญญาฉบับนี้ คือ
          ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม ได้ตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ-วโรประการ คณาภยันดรมหาจักรีและแครนด์ออฟฟิเชอร์ลิยิอองคอนเนอร์ ฯลฯ เสนาบดีว่าการต่างประเทศกรุงสยามฝ่ายหนึ่ง
          แลฝ่ายท่านประธานาธิบดี   ริปันลิกกรุงฝรั่งเศส   ได้ตั้งมองซิเออร์เลอร์     ชาวส์มาริเลอ
 มิร์เดอวิเลร์ ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ แกรนด์ออฟฟิเชอร์ลิยิอองคอนเนอร์ แลจุลวราภรณ์อัครราชทูนผู้มีอำนาจเต็มชั้นที่หนึ่ง และที่ปรึกษาแผ่นดินอีกฝ่ายหนึ่ง
          ผู้ซึ่งเมื่อได้แลกเปลี่ยนตราตั้งมอบอำนาจแลได้เห็นเป็นการถูกต้องตามแบบแผนดีแล้ว ได้ตกลงทำข้อสัญญาดังมีต่อไปนี้
          ข้อ . คอเวอนแมนต์สยามยอมสละเสียซึ่งข้ออ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้นทั่วไปในดินแดน ฝั่งซ้าย ฟากตะวันออกแม่น้ำโขง แลในบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้นด้วย
          ข้อ คอเวอนแมนต์สยามจะไม่มีเรือรบใหญ่น้อยไปไว้ ฤาใช้ดินแดนในทเลสาบก็ดี แลในลำน้ำแยกจากแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ภายในที่อันได้มีกำหนดไว้ในข้อต่อไปนี้
          ข้อ คอเวอนแมนต์สยามจะไม่ก่อสร้างด่านค่ายคูฤาที่อยู่ของพลทหารในแขวงเมืองพระตะบอง แลเมืองนครเสียมราบ แลในจังหวัด ๒๕ กิโลเมตร (๖๒๕ เส้น) บนฝั่งขวาฟากตวันตกแม่น้ำโขง
          ข้อ ในจังหวัดซึ่งได้กล่าวไว้ในข้อ นั้น บรรดาการตระเวนรักษาจะมีแต่กองตระเวนเจ้าพนักงานเมืองนั้น กับคนใช้เปนกำลังแต่เพียงที่จำเปนแท้ แลทำการตามอย่างเช่นเคยรักษาเปนธรรมเนียมในที่นั้น จะไม่มีพลประจำฤาพลเกณฑ์สรรด้วยอาวุธเป็นทหารอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งอยู่ในที่นั้นด้วย
          ข้อ . คอเวอนแมนต์สยามจะรับปฤกษากับคอเวอนแมนต์ฝรั่งเศสภายในกำหนดหกเดือน แต่ปีนี้ไปในการที่จะจัดการเปนวิธีการค้าขาย แลวิธีตั้งด่านโรงภาษี  ในที่ตำบลซึ่งได้กล่าวไว้ในข้อ นั้น แลในการที่จะแก้ไขข้อความสัญญา ปีมะโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ คฤษตศักราช ๑๘๕๖ นั้นด้วย คอเวอนแมนต์สยามจะไม่เก็บภาษีสินค้าเข้าออกในจังหวัดที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 3 แล้วนั้น จนกว่าจะได้ตกลงกับคอเวอนแมนต์ฝรั่งเศสจะได้ทำตอบแทนให้เหมือนกันในสิ่งของที่เกิดจากจังหวัดที่กล่าวนี้สืบ
          ข้อ . การซึ่งจะอุดหนุนการเดินเรือในแม่น้ำโขงนั้น จะมีการจำเปนที่จะทำได้ในฝั่งขวาฟากตวันตกแม่น้ำโขงโดยการก่อสร้างก็ดี ฤาตั้งท่าเรือจอดก็ดี ทำที่ไว้ฟืนและถ่านก็ดี คอเวอนแมนต์สยามรับว่าเมื่อคอเวอนแมนด์ฝรั่งเศสขอแล้ว จะช่วยตามการจำเปนที่จะทำให้สดวกทุกอย่างเพื่อประโยชน์นั้น
          ข้อ . คนชาวเมืองฝรั่งเศสก็ดี คนในบังคับฤาคนอยู่ในปกครองฝรั่งเศสก็ดี ไปมาค้าขายได้โดยสะดวกในตำบลซึ่งได้กล่าวไว้ในข้อ เมื่อถือหนังสือเดินทางของเจ้าพนักงานฝรั่งเศสในตำบลนั้น ฝ่ายราษฎรในจังหวัดอันได้กล่าวไว้นี้จะได้รับผลเป็นการตอบแทนอย่างเดียวกันด้วยเหมือนกัน
          ข้อ . คอเวอนแมนต์ฝรั่งเศสจะตั้งกงศุลได้ในที่ใด ซึ่งจะคิดเห็นว่าเป็นการสมควรแก่ประโยชน์ของคนผู้อยู่ในความป้องกันของฝรั่งเศสแลมีที่เมืองนครราชสีมาแลเมืองน่าน เป็นต้น
          ข้อ . ถ้ามีความข้อข้องไม่เห็นต้องกัน ในความหมายของหนังสือสัญญานี้แล้ว ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้นจะเปนหลัก
          ข้อ ๑๐. สัญญานี้จะได้ตรวจแก้เปนใช้ได้ภายในเวลาสี่เดือนตั้งแต่วันลงชื่อกันนี้
          อรรคราชทูตผู้มีอำนาทเต็มทั้งสองฝ่ายซึ่งได้กล่าวชื่อไว้ข้างต้นนั้นฯ ได้ลงชื่อแลได้ประทับตราหนังสือสัญญานี้สองฉบับ เหมือนกันไว้เปนสำคัญแล้ว
          ได้ทำที่ราชวัลลภกรุงเทพฯ วันที่ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒

                                      (เซ็นพระนามเทวะวงษวโรประการ

          นอกจากนี้ฝรั่งเศสได้บีบบังคับให้ไทยยอมรับข้อกำหนดในสัญญาน้อย ผนวกท้ายสัญญาเกี่ยวกับการถอนทหาร ดังนี้คือ
          "ข้อ . ว่าด่านหลังที่สุดของทหารฝ่ายสยามที่ฝั่งซ้ายฟากตะวันออกแม่น้ำโขงนั้นจะต้องเลิกถอนมาอย่างช้าที่สุดภายในเดือนหนึ่งตั้งแต่วันที่ กันยายน และ
             ข้อ . บรรดาป้องค่ายคู อันอยู่ในจังหวัดที่กล่าวไว้ในข้อ ของหนังสือสัญญาฉบับใหญ่ที่ทำไว้วันนี้แล้ว จะต้องรื้อถอนเสียให้สิ้น"

การย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวน (.. ๒๔๓๖)
          จากสัญญาใหญ่และสัญญาน้อยที่ฝ่ายไทยจำต้องยอมทำกับฝรั่งเศสนี้เอง เป็นเหตุให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวนจำต้องย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวนที่ตั้งที่เมืองหนองคาย มาตั้งที่บ้านหมากแข้ง ดังปรากฏจากเอกสารกระทรวงมหาดไทย เรื่องจะถอยข้าหลวงหมากแข้งลงมาอยู่นครราชสีมา .. ๑๑๒ - ๑๑๓ (.. ๒๔๓๖ - ๒๔๓๗) .๕๙/๑๒ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          . กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม บอกมาว่า ตามความที่โปรดเกล้าฯ ให้ชี้แจงตำบลบ้านเดื่อหมากแค่งซึ่งกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมจะได้ไปตั้งพักอยู่นั้น ประโยชน์ของตำบลนี้คือ
          () ถ้าฝรั่งเศสคิดข้ามมาจับฟากข้างนี้แล้วคงจะจับเมืองหนองคายก่อน เพราะเปนเมืองบริบูรณ์ ถ้ามาจับหนองคายแล้วจะได้มาโต้ทันเวลา
() บ้านนี้ระยะทางกึ่งกลางที่จะไปมาบังคับราชการเขตลาวพวนได้ตลอด
() โทระเลขในแขวงลาวพวนต้องมารวมในบ้านนี้ทั้งสิ้น
() เสบียงอาหารแต่ก่อนมาเข้าที่จะเลี้ยงไพร่พลนั้น ด้วยเมืองลาวหาได้เก็บเงินค่านาไม่
เก็บแต่หางเข้าตามพรรณเข้าปลูกขึ้นฉางไว้ ถ้ามีข้าหลวงฤากองทัพก็ต้องจ่ายเลี้ยงข้าหลวงแลกองทัพถ้าสิ้นเข้าคงฉางแล้ว จึงต้องจ่ายเงินหลวงจัดซื้อเพิ่มเติม ถ้าข้าหลวงตั้งอยู่เมืองน้อย เข้าไม่พอก็ต้องจัดซื้อ ไม่ได้ใช้ขนเข้าเมืองอื่นมาเจือจาน ที่ตำบลบ้านนี้เปนบ้านอยู่ในระหว่างเมืองหนองคาย เมืองหนองหาร ขอนแก่น เมืองกุมภวาปี เมืองกมุทาไสย จะได้ใช้เสบียงเมืองเหล่านี้ ไม่ต้องออกเงินหลวงให้เปลืองพระราชทรัพย์
          () เมืองสกลนคร แม้ว่าจะเป็นที่ภูมิถานใหญ่โตสบายก็จริง แต่ในปีนี้น้ำท่วมเสบียงอาหารเสียสิ้น ถ้าจะยกกองข้าหลวงไปตั้งก็จะต้องเสียเงินมาก แลจะไม่มีที่ซื้อเข้าด้วย อนึ่งระยะทาง
โทระเลขตั้งแต่กรุงเทพฯ ขึ้นไปหนองคาย อย่างเร็ว วัน อย่างช้า ๑๒ วัน ถ้าที่เมืองสกลนคร โทระเลขจะต้องอย่างเร็ว ๑๔ วัน อย่างช้า ๑๘ วัน
          () ได้คิดดูในตำบลนี้ก็อยู่นอก ๒๕ กิโลมิเตอร์ ตามแผนที่ฝรั่งเศส ซึ่ง .ปาวี เปนผู้ทำส่งพระราชทานขึ้นไป บ้านนี้อยู่ในอายันต์เหนือ ๑๗ องษา ๒๗ นาที อายามตวันออกของปารีศ ๑๐๐ องษา ๒๒ นาที แต่ที่จะพูดกับอ้ายฝรั่งเศสเป็นมนุษย์ดื้อ ด้าน ปราศจากความอายแล้วก็คงจะทำให้ขุ่นเคือง ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ จึงปฤกษาตกลงกันว่าควรจะไปตั้งที่บ้านน้ำฆ้อง เมืองกุมภวาปีดีกว่า คงจะได้ประโยชน์เหมือนกับบ้านเดื่อหมาแค่ง ทุกอย่าง
          กรมหมื่นดำรง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้ทรงตอบไปว่า
          ตามดำริห์ ของกรมหมื่นประจักษ์ที่จะเลื่อนไปตั้งที่บ้านน้ำฆ้อง เพื่อไม่ให้ฝรั่งเศสทักท้วงได้ในภายน่านั้น ที่บ้านเดื่อหมากแค่งก็อยู่นอก  ๖๒๕ เส้นแล้ว แต่จะทรงพระดำริห์เลือกที่อื่นก็ตามการนี้แล้วแต่กรมหมื่นประจักษ์จะทรงเลือกหา เพราะทรงทราบท้องที่ดีอยู่แล้ว กรมหมื่นดำรงไม่สามารถจะมีพระราชดำริห์ให้ดีกว่าได้
          . กรมหมื่นประจักษ์โทระเลขมาว่า ได้ยกออกจากเมืองหนองคาย ในวันที่ ๑๖ มกราคม ได้เดินทางถนนรัชฎาภิเศก อีกฉบับหนึ่งว่า ได้ยกมาถึงบ้านหมากแค่ง วันที่ ๑๘ มกราคม
          ดังนั้น จากหนังสือกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ        ได้ทรงไว้วางใจและเชื่อในพระปรีชาสามารถของกรมหมื่นประจักษ์ -
ศิลปาคม ในการที่จะเลือกตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวน ถึงกับได้นำความเห็นของพระองค์ (กรม-
พระยาดำรงฯ) ที่มีต่อพระดำริของกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ในเรื่องที่จะขอให้ตัดสินใจได้เอง นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ แลกรมพระยาดำรงฯ ได้ทรงแนบความรู้เรื่องบ้านเดื่อหมากแข้ง ดังนี้คือ

"ความรู้เรื่องบ้านเดื่อหมากแข้ง
พื้นที่
          บ้านเดื่อหมากแข้ง เปนแขวงเมืองหนองคาย มีเรือน (.. ๑๐๙) ไม่เกิน ๒๐๐ หลังคาเรือน เปนบ้านอยู่ในที่ราบชายเนิน, ด้านตะวันออกเปนที่ทุ่งนาใหญ่ ตลอดมาต่อทุ่งขายหนองหาร เปนต้นทางร่วมที่มาจากเมืองใกล้เคียง แต่เปนที่บ้านป่าขับขันกันดาน ต้องอาไศรยเสบียงอาหารจากเมืองหนองคายและเมืองสกลนคร
ทางส่งข่าว
          ส่งข่าวทางโทรศัพท์แต่กรุงเทพฯ ไปบ้านเดื่อหมากแข้งอย่างเร็ว วัน อย่างช้า ๑๒ วัน
ระยะทางไปเมืองที่ใกล้เคียง
          จากบ้านหมากแข้งไปเมืองนครรราชสีห์มา  ทาง            วัน
          จากบ้านหมากแข้งไปเมืองหนองคาย  ทาง                  วัน
          จากบ้านหมากแข้งไปเมืองหนองหาร  ทาง                  วัน
          จากบ้านหมากแข้งไปเมืองกุมภวาปี  ทาง                   วัน
          จากบ้านหมากแข้งไปเมืองกมุทาไสย  ทาง                  วัน
          จากบ้านหมากแข้งไปเมืองหล่มศักดิ์  ทาง                   วัน
          จากบ้านหมากแข้งไปเมืองสกลนคร  ทาง          วัน
          เหตุผลหนึ่งที่กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงมีความพอพระราชหทัยในตำบลที่ตั้งของบ้านหมากแข้งนั้น ท่านเจ้าคุณพระราชปริยัติเมธี เจ้าอาวาสวัดมัชฉิมาวาส และรองเจ้าคณะภาค ได้เล่าไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือประวัติวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธานี ความว่า
          "การย้ายกองบัญชาการมณฑลลาวพวนมายังบ้านเดื่อหมากแข้งนั้น คนผู้เฒ่าผู้แก่เล่าไว้ว่าต้องใช้เกวียนประมาณ ๒๐๐ เล่ม เป็นพาหนะได้ออกเดินทางรอนแรมมาโดยลำดับถึงน้ำซวย (ซวย หมายถึง ปลาชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเปลี่ยนเรียกน้ำสวย) เสด็จในกรมฯ ได้ให้ตรวจดูพื้นที่ เพื่อจะได้ตั้งกองบัญชาการ แต่เมื่อได้ตรวจดูโดยถี่ถ้วนแล้ว เห็นว่ามีพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ สูง ต่ำ ไม่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นเมืองใหญ่ในโอกาสข้างหน้า และตั้งอยู่จากฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเท่านั้น พระองค์ได้อพยพรอนแรมมาทางทิศใต้โดยลำดับ ห่างจากน้ำซวยนั้นประมาณ ๓๐ กิโลเมตร จนถึงบ้านเดื่อหมากแข้ง จึงได้พักกองเกวียนอยู่ใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ข้างวัดมัชฌิมาวาส ในบริเวณอนามัยจังหวัดในปัจจุบัน จึงได้ให้ออกสำรวจดูห้วย หนอง คลอง บึง ในบริเวณใกล้เคียงทางทิศตะวันออกมี หนองบัวกลอง หนองเหล็ก ทางทิศใต้มีหนองขอนขว้าง ทางทิศตะวันตกมี หนองนาเกลือ หนองวัวข้อง หนองสวรรค์ และทางทิศเหนือมี หนองสำโรง หนองแด และมีลำห้วยหมากแข้ง ซึ่งมีต้นน้ำจากภูเขาพานมีน้ำใสสะอาด มีป่าไผ่ปกคลุม มีปลา เต่า จระเข้ ชุกชุมมาก ลำน้ำนี้ไหลผ่านจากทิศใต้สู่ทิศเหนือลงลำห้วยหลวง เสด็จในกรมจึงตกลงพระทัยให้ตั้งกองบัญชาการสร้างบ้านแปลงเมืองลง พื้นที่ดังกล่าวนี้"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น