สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา



อุดรธานีแหล่งอารยธรรมโบราณ

          ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้ร่องรอยแสดงว่า ได้เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นเวลานานไม่แพ้แหล่งอื่น ๆ ของโลก อาจจะเป็นเวลานานนับถึงห้าแสนปี ตามหลักฐานการขุดค้นของนักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ได้พบแล้ว โดยเฉพาะดินแดนที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนับเป็นแหล่งที่สามารถยืนยันได้ เพราะเป็นแหล่งที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่สำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษยชาติ แหล่งขุดค้นที่สำคัญที่นักโบราณคดีและกองโบราณคดีกรมศิลปากร ได้ทำการขุดค้นพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักโบราณคดีระหว่างประเทศว่าเป็นแหล่งที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ การขุดค้นที่บ้านโนนนกทา ตำบลนาดี อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดค้นที่บ้านเชียง นับเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทางโบราณคดีไปทั่วโลก

วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์
          บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝั่งศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ เมื่อราว ,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณ
          ชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะที่รู้จักทำการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ นิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริด ในระยะแรกและรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมา แต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่กันไป
          ชาวบ้านเชียงโบราณรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาภาชนะสีเทา ทำเป็นลายขูดขีด ลายเชือกทาบและขัดมัน รู้จักทำภาชนะดินเผาลายเขียนสี รูปทรงและลวดลายต่าง มากมาย กรมศิลปากรได้ส่งเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบที่บ้านเชียงนี้ ไปตรวจสอบคำนวณหาอายุโดยใช้วิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์
(THERMOLUMINES CENSE) ที่ห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีอายุประมาณ ,๐๐๐ - ,๐๐๐ ปี ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่พบที่บ้านเชียงนี้นับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าที่ค้นพบที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากความเห็นและการสันนิษฐานของนายชิน อยู่ดี ภัณฑารักษ์พิเศษของกรมศิลปากร ได้ให้ความเห็นว่า "เป็นเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชียอาคเนย์" และอาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลกก็เป็นได้
          นอกจากนั้นชาวบ้านเชียงโบราณยังรู้จักทำเครื่องจักสาน ทอผ้า มีประเพณีการฝังศพ ฝังสิ่งของ เครื่องใช้ อาหารรวมกับศพเป็นการอุทิศให้กับผู้ตาย สิ่งของที่เป็นโบราณวัตถุซึ่งได้จากการสำรวจรวบรวมและขุดค้นที่บ้านเชียงรวมแหล่งใกล้เคียง เช่น ขวาน ใบหอก มีด ภาชนะดินเผาทั้งที่เขียนสีและไม่เขียนสี และดินเผาลูกกลิ้งดินเผา แม่พิมพ์หินใช้หล่อเครื่องมือสำริด ทำจากหินทรายเบ้าดินเผา รูปสัตว์ดินเผา ลูกปัดทำจากหินสีและแก้วกำไล และแหวนสำริด ลูกกระสุนดินเผา ขวานหินขัดและได้พบเศษผ้าที่ติดอยู่กับเครื่องมือสำริด แกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็ก เป็นต้น
          จากการสำรวจและขุดค้นที่ผ่านมา และการขุดค้นของกรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ในระหว่างปี .. ๒๕๑๗-๒๕๑๘ ได้สรุปผลการวิจัยเรื่องสภาพแวดล้อมชีวิตความเป็นอยู่ เทคโนโลยีของวัฒนธรรมบ้านเชียงโบราณและกำหนดอายุสมัยโดยประมาณพอสรุปได้ว่า
          ชุมชนบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นชุมชนเกษตรกรรมยุคโลหะ มีความเจริญก้าวหน้ามานานแล้ว สามารถแบ่งลำดับขั้นวัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรมที่บ้านเชียงออกเป็น สมัย โดยกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์วิธีคาร์บอน ๑๔ ว่า วัฒนธรรมสมัยที่ หรือชั้นดินล่างสุดของบ้านเชียงมีอายุประมาณ ,๖๐๐ ปีมาแล้ว จากการศึกษาวิเคราะห์กระดูกสัตว์และเปลือกหอยทำให้มีความคิดว่าคนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงในระยะแรกได้เลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณป่าที่ถูกถากถาง มีการเลี้ยงสัตว์และล่าสัตว์ด้วย พอถึงสมัยที่ เมื่อราว ,๖๐๐ ปีมาแล้วรู้จักใช้เครื่องมือ เหล็ก เลี้ยงควาย เพื่อช่วยในการทำนา ในสมัยที่ เมื่อราว ,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีการทำภาชนะดินเผาลายเขียนสีลงลายและรูปทรงหลายแบบ พอถึงสมัยที่ จึงทำแต่ภาชนะดินเผาเคลือบสีแดงหรือเขียนสีบนพื้นสีแดง ทำเครื่องประดับที่มีส่วนผสมของโลหะที่มีความวาวมากขึ้น กำหนดอายุได้ราว ,๗๐๐ ปีมาแล้ว
          จากการค้นพบแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็ก การค้นพบเครื่องมือสำริด แม่พิมพ์เครื่องมือสำริด เบ้าดินเผา ทำให้สามารถกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงมีความเจริญก้าวหน้าสูง รู้จักการใช้โลหะกรรมหล่อหลอมสำริด และปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่น้อยกว่า ,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงกว่าบริเวณอื่น ของประเทศไทย จากการสันนิษฐานโดยอาศัยหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีของศาสตรจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียรที่ว่า "มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ในสมัยเมื่อ ,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีความเจริญทางวัฒนธรรม ไม่เท่าเทียมกันทั้งประเทศ กล่าวคือ ขณะที่พวกที่อาศัยอยู่ทางแควน้อยและแควใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อ ,๗๐๐ ปี ใช้หินเป็นเครื่องมือและใช้หินกระดูกสัตว์และเปลือกหอยเป็นเครื่องประดับนั้น พวกที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมีความเจริญรุดหน้ากว่า รู้จักใช้สำริดมาทำเป็นเครื่องประดับและรู้จักใช้เหล็กทำเป็นเครื่องมือ."
          ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้างตันตรงกับสันนิษฐานของศาสตราจารย์ ดร.โซเฮล์ม (DR.W.G.SOLHEIM) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ให้ความเห็นว่า
          "ความเจริญทางวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า ได้มีการใช้สำริดทำกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยก่อนแหล่งอื่น ในโลกภาคตะวันออก คือประมาณ ,๕๐๐ ปี ก่อนคริสตศักราช คือประมาณ ,๔๗๒ ปีมาแล้วใกล้เคียงกับเวลาที่ใกล้ที่สุดที่อาจเป็นได้ ที่บ้านเชียง"



ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อำเภอบ้านผือ
          นอกจากนี้กรมศิลปากรยังได้พบขวานหินขัดของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่าขวานฟ้า ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีอีกด้วย และที่บริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี นี้เอง ได้พบร่องรอยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ว่าเคยได้อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ กล่าวคือได้มีการค้นพบ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ หรือเพิงถ้ำของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่บริเวณถ้ำลาย บนเทือกเขาภูพาน บ้านโปร่งฮี ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ เป็นลายเขียนเส้นสีเหลือง เป็นรูปเรขาคณิต คือเป็นรูปสี่เหลี่ยมและรูปเส้นวกไปวกมาติดต่อกัน และที่บริเวณถ้ำโนนเสาเอ้ บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ พบว่า เป็นรูปทรงเรขาคณิตคล้ายที่ถ้ำลาย บางรูปเขียนเป็นเส้นใหญ่ ขนานกันหลายเส้น และในบริเวณใกล้เคียงกันนี้ยังได้พบภาพฝ่ามือทาบบนผนังถ้ำ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเป็นรูปคน, รูปวัวแดง, บริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผืออีกด้วย
          จึงเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าดินแดนที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบันนั้น อดีตเคยเป็นแหล่งที่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมในระดับสูงจนเป็นที่ยอมรับกันในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า วัฒนธรรมบ้านเชียงนั้นเป็นความเจริญที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลา ,๐๐๐-,๐๐๐ ปีมาแล้ว และได้มีการขนานนามวัฒนธรรมที่เกิดในยุคร่วมสมัยของบ้านเชียงที่เกิดในแหล่งอื่นของโลกว่า BANCHIANG CIVILIZATION.
          และจากเหตุผลดังกล่าวนี้เองจึงเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ที่ว่า ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ได้รับวัฒนธรรมจากจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณมาเป็น ในทางกลับกัน ตามความเห็นและข้อสันนิษฐานของศาสตราจารย์ ดร.เชสเตอร์ กอร์มัน (DR. CHESTER GORMAN) แห่งมหาวิทยาลัย
เพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ว่า
          "ดินแดนที่เรียกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมิใช่เป็นบริเวณล้าหลัง ในทางวัฒนธรรมแต่อย่างใดและไม่ได้เป็นดินแดนที่รับวัฒนธรรมจากจีน แต่เป็นผู้แผ่วัฒนธรรมไปให้จีน"
          นอกจากร่องรอยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบที่จังหวัดอุดรธานีแล้ว ในทางประวัติศาสตร์ยังพบว่าบริเวณใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ กรมศิลปากร ได้พบโบราณวัตถุในสมัยต่าง คือ พบใบเสมา สมัยทวารวดี (ประมาณ .. ๑๒๐๐ - ๑๖๐๐ ) พระพุทธรูปแกะสลักจากหินทราย ศิลปะสมัยทวารวดีตอนปลายต่อกับศิลปะสมัยลพบุรีตอนต้น (ประมาณ .. ๑๒๐๐-๑๘๐๐) และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ ที่ปรักหักพัง เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ศิลปะสมัยทวารวดี จึงเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าบริเวณที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบันนั้น เคยเป็นแหล่งที่อยู่ของมนุษย์ทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการสืบเนื่องความเจริญทางวัฒนธรรมมาเป็นระยะเวลานาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น