ตั้งเมืองอุดรธานีเป็นเมืองจัตวา


ตั้งเมืองอุดรธานีเป็นเมืองจัตวา
          เนื่องจากลักษณะการปกครองที่แบ่งเป็นบริเวณมีฐานะเทียบเท่าเมืองดังกล่าว แต่ชื่อยังคงใช้คำว่า "บริเวณ" อยู่นั้น เพื่อให้การเรียกชื่อไม่สับสน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการ เมื่อ .. ๒๔๕๐ โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทย จัดดำเนินการให้รวมหัวเมืองมณฑลอุดรเข้าเป็นเมืองจัตวารวม เมือง คือ
          () ให้รวมเมืองกมุทาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาร อำเภอบ้านหมาแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" เป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลอุดร
() หัวเมืองต่าง ซึ่งรวมเรียกแต่ก่อนว่า บริเวณพาชีนั้น ให้เปลี่ยนเรียกว่า "เมืองขอนแก่น"
          () หัวเมืองต่าง ซึ่งรวมเรียกแต่เดิมว่า บริเวณน้ำเหืองนั้นให้เปลี่ยนเรียกว่า "เมืองเลย"
          () หัวเมืองต่าง ซึ่งรวมเรียกแต่เดิมว่า บริเวณสกลนครนั้นให้เปลี่ยนเรียกว่า "เมืองสกลนคร"
          () หัวเมืองต่าง ซึ่งรวมเรียกแต่เดิมว่า บริเวณธาตุพนมนั้น ให้เปลี่ยนเรียกว่า "เมืองนครพนม"
() เมืองหนองคาย
() เมืองโพนพิสัย
การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมหัวเมืองมณฑล
อุดรเข้าเป็นเมืองจัตวา เมืองนั้น จะเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนในการบริหารการปกครองที่มีการแบ่งการปกครองเป็นบริเวณและจังหวัด เนื่องจากการบริหารงานในบริเวณมีฐานะเทียบเท่าจังหวัดดังกล่าวแล้ว ฉะนั้นพระองค์จึงทรงจัดรวมหัวเมืองต่าง เข้าด้วยกันเป็นจังหวัด ซึ่งบางจังหวัดยุบมาจากบริเวณ ส่วนเมืองที่อยู่ในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ การจัดระเบียบบริหารการปกครองดังกล่าวจะเป็นการดำเนินงานอีกขั้นหนึ่งเพื่อให้การปกครองแบบเทศาภิบาลได้รับผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการรับการบริหารการปกครองให้รัดกุมยิ่งขึ้น และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติในเวลาต่อมา

พิธีตั้งเมืองอุดรธานี วันที่ เมษายน .. ๑๒๗ (.. ๒๔๕๐)
          พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้พร้อมกับกรมการเมืองข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จัดพิธีตั้งเมืองอุดรธานี สนามกลางเมือง เมื่อวันที่ เมษายน .. ๑๒๗ สำหรับความละเอียดเหตุการณ์ในวันดังกล่าวปรากฏตามพระหัตถเลขาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ราชเลขานุการ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละองธุลีพระบาท ตามหนังสือศาลาว่าการมหาดไทย ที่ ๒๑๐ / ๘๘๐ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน .. ๑๒๗ ดังต่อไปนี้

                                      (สำเนา)
                                               
ที่ ๒๑๐ / ๘๘๐                                         ศาลาว่าการมหาดไทย

                                วันที่ ๒๗ เดือนเมษายน .. ๑๒๗

กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ราชเลขานุการ ทรงทราบ
          ด้วยเกล้าฯ ได้รับใบบอกพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ ข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดรที่ /๓๑ ลงวันที่ เมษายน .. ๑๒๗ ว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกมุทธาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาร อำเภอบ้านหมากแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา "เรียกว่าเมืองอุดรธานี" นั้น พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ เห็นว่าการที่ตั้งเมืองใหม่เช่นนี้ควรต้องมีการพิธีเพื่อให้เป็นศิริสวัสดิมงคลและแสดงความรื่นเริง เพราะฉนั้นพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์แลข้าราชการจึงได้พร้อมกันออกทรัพย์รวมเป็นเงิน ๘๒๗ บาท ได้เริ่มจัดการพิธีเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม .๑๒๖ เวลาบ่าย โมงได้อาราธนาพระสงฆ์ ๕๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์ที่ปรำสนามกลางเมืองอุดรธานีเวลาค่ำมีการมะโหรศพและดอกไม้เพลิง ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ เมษายน .. ๑๒๗ เวลาเช้าข้าราชการได้พร้อมกันถวายอาหารบิณฑบาตร์และเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ ๕๐ รูป เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วจึงได้อ่านประกาศตั้งเมืองที่ปรำพิธีพร้อมด้วยข้าราชการทหารพลเรือนตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านและประชาชนทั้งหลาย เมื่อเสร็จการอ่านประกาศแล้วพระสงฆ์ ๕๐ รูป ได้สวดไชยันโต แคนวงและพิณพาทย์ได้ทำเพลงสรรเสริญพระบารมี ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนได้โห่ถวายไชยมงคล ครั้ง เมื่อถึงเวลาค่ำได้มีการเลี้ยงและการละเล่นจุดดอกไม้เพลิง รุ่งขึ้นวันที่ เมษายน ได้มีการเลี้ยงอาหารกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและมีการละเล่นเหมือนอย่างวันก่อน รวมเวลาที่กระทำพิธีตั้งเมืองอุดรธานี วัน พระยาศรีสุริย
ราชวรานุวัตร์ และบรรดาข้าราชการที่ได้ออกทรัพย์มีนามและจำนวนเงินตามบาญชีซึ่งได้ถวายมาพร้อมกับจดหมายนี้พร้อมกัน  ขอพระราชทานถวายพระราชกุศล มีความใบบอกดังนี้
          ขอได้ทรงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท

                             ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

                                          ดำรง
                             เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

                                                                   ,,
                                                                   ..








                       สำเนาที่ ๑๓๘๐ กระทรวงมหาดไทยรับวันที่ ๒๒ เมษายน .. ๑๒๗
                   บัญชีรายนามผู้ที่ออกทรัพย์ในงานเปิดเมืองอุดรธานี

รายนาม
ตำแหน่ง
เมือง
จำนวนเงิน
หมายเหตุ



.
.

พระยาศรีสุริยราช
ข้าหลวงเทศา
หมากแข้ง
๑๗๐
-

พระยาสุนทร
ข้าหลวง
นครพนม
๓๕
-

พระยาพิไสยสรเดช
นายอำเภอ
โพนพิสัย
๑๐
-

พระรามฤทธิ์
ข้าหลวง
เมืองเลย
๑๐
-

ขุนวรภักดิ์พิบูลย์
ข้าหลวงมหาดไทย
อุดรธานี
๒๐
-

หลวงพิไชย
พธำมรงค์
อุดรธานี
๑๐
-

หลวงวิตร์
ข้าหลวงสรรพากร
อุดรธานี
๒๐
-

นายสดจำรอง
-
อุดรธานี
๑๐
-

หลวงบริรักษ์
ข้าหลวงคลัง
อุดรธานี
๒๐
-

หม่อมเจ้าคำงอก
ผู้ช่วยข้าหลวงคลัง
อุดรธานี
-

ขุนอักษรเลขา
เลขานุการ
อุดรธานี
๑๐
-

ขุนประจิตร์รัฐกรรม
ว่าที่ยกรบัตร์เมือง
อุดรธานี
๑๕
-

ขุนไตร
-
อุดรธานี
-

นายถึง
เสมียน
อุดรธานี
-

ขุนสวัสดิ์
-
อุดรธานี
๔๔
-

นายต่อม
เสมียน
อุดรธานี
-

หลวงผลานันตกิจ
ข้าหลวงธรรมการ
อุดรธานี
๑๕
-

ขุนศรีเกษตร์
ว่าที่ผู้พิพากษา
อุดรธานี
๒๐
-

นายบุญช่วย
ยกรบัตร์ศาล
อุดรธานี
-

ขุนภิมโทรเลข
ผู้รั้งสารวัด
อุดรธานี
๑๐
-

นายสิ้น
-
อุดรธานี
-

นายสาร
-
อุดรธานี
-

หมื่นแสดง
พนักงานไปรสนีย์
หนองคาย
๑๐
-

นายโพ
พนักงานไปรสนีย์
อุดรธานี
-

นายจารณ์
ผู้พิพากษา
เมืองเลย
๑๐
-

ทำการร้อยเอกยิ้ม
แทนผู้บังคับการ
อุดรธานี



นายเปีย
พนักงานบาญชี
อุดรธานี
-

นายจันดี
เสมียนตำรวจ
อุดรธานี
-

นายร้อยอือรุมเอกดัล
ครูตำรวจ
อุดรธานี
๕๐
-

รายนาม
ตำแหน่ง
เมือง
จำนวนเงิน
หมายเหตุ



.
.

ขุนอภัยบริพัตร์
ปลัดเมือง
ขอนแก่น
๑๐


นายวินเด
ล่าม
อุดรธานี
๑๐
-

นายเจียก
เสมียนตรา
อุดรธานี
๑๐
-

นายถึก
พนักงานแผนที่
อุดรธานี
-

นายอนุชาติวฒาธิคุณ
นายอำเภอ
เพ็ญ
๑๐
-

นายบุญเพ็ญ
ปลัดอำเภอ
หนองหาร
-

พระวิจารณ์กมุทธกิจ
นายอำเภอ
กมุทธไสย
-

ขุนสมัคใจราษฎร์
นายอำเภอ
กุมภวาปี
๑๐
-

ขุนธนภารบริรักษ์
แพทย์
อุดรธานี
-

นายทอง
ภารโรง
อุดรธานี
-

พระบริบาลภูมิเขตร์
นายอำเภอ
อุดรธานี
๑๒
-

ขุนธนสาร
สมุหบาญชี
อุดรธานี
-

นายเขียน
ปลัดอำเภอ
อุดรธานี
-

นายกำปั่น
เสมียน
อุดรธานี
-

นายผอง
เสมียน
อุดรธานี
-

นายสิง
เสมียน
อุดรธานี
-

ขุนประจงอักษร
สัสดี
อุดรธานี
-

นายสาลี
ว่าที่อักษรเลข
อุดรธานี
-

นายทอง
หมอ
อุดรธานี
-

นายเด่น
ศุภมาตรา
อุดรธานี
-

นายโสม
คนใช้
อุดรธานี
-

นายยา
-
อุดรธานี
-

สุวรรณราช
ปลัดอำเภอ
วังสะพุง
-

ขุนวิจิตร์คุณสาร
นายอำเภอ
หนองคาย
๑๐
-

หลวงทรงสาราวุธ
นายอำเภอ
มุกดาหาร
๑๐
-

ขุนผดุงแคว้นประจัน
ข้าหลวง
สกล
๒๐
-

ขุนผลาญณรงค์
ผู้พิพากษา
สกล
๑๐
-

นายจันที
ปลัดอำเภอ
อุดรธานี
-

ขุนศรีสุนทรกิจ
ปลัดอำเภอ
อุดรธานี
-

นายมณี
ผู้พิพากษา
นครพนม
-

ขุนพิพิธคดีราษฎร์
ผู้พิพากษา
ขอนแก่น
๑๐
-

หลวงพิไสย
ข้าหลวง
ขอนแก่น
๓๐
-

รายนาม
ตำแหน่ง
เมือง
จำนวนเงิน
หมายเหตุ



.
.

หลวงพินิจ
นายอำเภอ
วังสะพุง
-

หลวงณรงค์
ยกรบัตร์
เลย
๑๐
-

นายปลื้ม
นายอำเภอ
มัญจาคีรี
๑๐
-

พระศรีทรงไชย
นายอำเภอ
ภูเวียง
-

พระศรีชนบาล
นายอำเภอ
ชนบท
๑๐
-

ขุนสุรากิจจำนงค์
นายอำเภอ
ท่าอุเทน
๑๐
-

หลวงสุราการ
รั้งนายอำเภอด่านซ้าย

-

นายหริ่ง
ผู้ช่วยข้าหลวงสรรพากร
อุดรธานี
-

พระกุประดิษฐบดี
ผู้ว่าราชการ
ท่าบ่อ
๑๐
-

ขุนมหาวิไชย
นายอำเภอ
พอง
๑๕
-

ขุนอภิบาลนิติสาร
-

-

พระอุดมสรเขตร์
ปลัดเมือง
ขอนแก่น
๑๐
-



รวม
๘๒๗
-


          ในสมัยพระศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดร ท่านได้ก่อร่างสร้างเมืองอุดรธานีให้มีความเจริญสืบต่อจาก พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์
ศิลปาคม และพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นอันมาก อาทิเช่น ท่านได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนตัดถนนหนทาง วางผังเมืองอุดรขึ้นใหม่หลายสาย และท่านได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งซึ่งเวลานั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์ยังไม่มีชื่อ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ทรงประทานชื่อว่า วัดโพธิสมภรณ์ เป็นวัดธรรมยุติวัดแรกในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งชาวจังหวัดอุดรธานีเรียกกันสืบมาว่า วัดโพธิ์เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพธิ์ เนติโพธิ์)
          นอกจากนั้นทางด้านการศึกษาของกุลบุตร ได้ส่งเสริมให้ราษฎรมรฑลอุดรส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ซึ่งในขณะนั้นเป็นโรงเรียนที่อาศัยบริเวณของวัดมัชฌิมาวาสและต่อมาได้ขยายมาอยู่บริเวณที่เป็นวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานีในปัจจุบัน
          สำหรับการจัดการศึกษาให้แก่กุลสตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพธิ์ เนติโพธิ์) และคุณ
หญิง ได้ชักชวนพ่อค้า ข้าราชการ และประชาชนบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธาสมทบทุนกับรายได้ของมณฑลเพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับกุลสตรีหลังใหม่ เนื่องจากเห็นว่าโรงเรียนอุปถัมภ์นารีหลังเก่าคับแคบ ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าว่า สตรีราชินูทิศ เพื่อเป็นการระลึกถึงและบำเพ็ญพระกุศลถวาย สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          ใน .. ๒๔๖๔ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราช-โองการ โปรดเกล้าฯ ให้รวมมณฑลอุดร มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ดเป็นภาค เรียกว่า ภาคอีสาน ตั้งที่บัญชาการมณฑลภาคที่เมืองอุดรธานี มีเจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาวโรหิต) ดำรงตำแหน่งอุปราชภาคอีสาน และเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
          ต่อมา ใน .. ๒๔๖๘ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และมีผลกระทบถึงประเทศไทยด้วย จึงได้ทรงประกาศยกเลิกภาคอีสาน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามุขมนตรี ย้ายไปดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ
          .. ๒๔๗๐ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาอดุลยเดชสมยามเมศรวรภักดี (อุ้ย นาครธรรพ) เป็น
สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร
          .. ๒๔๗๓ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) เป็นผู้รั้งสมุหเทศาภิบาลอุดรคนสุดท้าย

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
          ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ทำให้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองปรากฏตามพระราชบัญญัติ ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม .. ๒๔๗๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกมณฑลเสียคงให้มีแต่ จังหวัดและอำเภอ โดยกำหนดให้การดำเนินงานในแต่ละจังหวัดมีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร เรียกว่า กรมการจังหวัด  ประกอบด้วย
() ข้าหลวงประจำจังหวัด เป็นประธานโดยตำแหน่ง
() ปลัดจังหวัด
() หัวหน้าส่วนราชการฝ่ายพลเรือนต่าง ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัด
ซึ่งมีจำนวนมากน้อยกว่ากันตามคุณภาพแห่งงานของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้การบริหารราช
การในจังหวัดจะมีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดบริหารร่วมกันเป็นคณะ
          สำหรับความมุ่งหมายของการบริหารราชการจังหวัด โดยคณะกรมการจังหวัด ตามพระ-ราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๖ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือชุมนุมกฎหมายปกครองว่า
          () เพื่อให้มีการประสานงานระหว่าง หัวหน้าส่วนราชการต่าง ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ส่งมาประจำจังหวัด
            () เพื่อไม่ให้แก่งแย่งกันว่างานนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของตน โดยกำหนดให้มีความรับผิดชอบร่วมกัน กล่าวคือ จะถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม ของตน กฎหมายก็กำหนดให้มีความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของจังหวัด
            () เพื่อให้ช่วยกันส่งเสริมจังหวัดของตนให้เจริญ เพราะกรมการจังหวัดทุกคนสามารถที่จะออกความเห็น แนะนำ คัดค้าน และอธิบายเรื่องที่เกี่ยวแก่จังหวัดตามที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันได้
          ดังนั้นมณฑลอุดรจึงถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๖ คงฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี
          ในระหว่าง .. ๒๔๗๖-๒๔๗๗ ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี คือ ได้เกิดมีคณะเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่หลายที่จังหวัดอุดรธานี ทำการปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ ได้มีการเคลื่อนไหวโดยในตอนกลางดึกบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดได้มีผู้เอาธงแดงคอมมิวนิสต์ไปปักบนต้นก้ามปู ในตอนเช้าทางราชการก็ได้ให้พนักงานเอาลงมาสลับกันอยู่หลายคืนและมีทีท่าจะก่อความวุ่นวาย ดังปรากฏในประวัติพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขต (จิตร จิตตะยโศธร) อดีตข้าหลวงประจำจังหวัดอุดรธานี ในหนังสือเมืองในภาคอีสานว่า
          “…ได้ทำการจับกุมผู้ต้องหาเผยแพร่ลัทธิคอมมูนิสต์ที่จังหวัดอุดรธานี ได้มีการเนรเทศบ้างฟ้องศาลลงโทษบ้าง เป็นจำนวนมากราว ๕๐ คน…”
          ต่อมา ใน .. ๒๔๘๔ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๘๔ จัดการรวมจังหวัดต่าง ยกขึ้นเป็นภาค จำนวน ภาค จังหวัดอุดรธานีขึ้นกับภาค ซึ่งมีที่ทำการภาคอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยภาค ในเวลานั้นมีจังหวัดสังกัดรวม ๑๕ จังหวัด
          ใน .. ๒๔๙๔ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ เมษายน ๒๔๙๔ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเขตภาคขึ้นใหม่ เป็น ภาค จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่ตั้งภาค และต่อมา ใน .. ๒๔๙๕ ก็ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ๒๔๙๕ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้คือ
(ภาค
() จังหวัด
() อำเภอ
โดยกำหนดให้รวมท้องที่หลายจังหวัดตั้งเป็นภาค มีผู้ว่าราชการภาคคนหนึ่งเป็นหัวหน้า
ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการบริหารส่วนภูมิภาค จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่ตั้งภาค ได้มีส่วนราชการต่าง มาตั้งที่ทำการภาคที่จังหวัดอุดรธานีเป็นจำนวนมาก และในขณะเดียวกัน พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ๒๔๙๕ ได้กำหนดให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ผู้เดียว ยกเลิกคณะกรมการจังหวัดในฐานะองค์คณะบริหารราชการภูมิภาค โดยได้เปลี่ยนสภาพคณะกรมการจังหวัดมาเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น
          ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ย้ายผู้ว่าราชการ และรองผู้ว่าราชการภาคไปประจำกระทรวง
          ในที่สุด ในปี .. ๒๔๙๙ ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ในส่วนกลางและในราชการส่วนภูมภาค ได้ยกเลิกภาค คงเหลือจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นจังหวัดอุดรธานีจึงมีฐานะจังหวัดเพียงอย่างเดียว ตั้งแต่ .. ๒๔๙๙ เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น